สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 18-24 เมษายน 2565

 

ข้าว

1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) โครงการสำคัญภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
1.1) ด้านการผลิต
(1) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าว และมาตรการควบคุม
ค่าเช่าที่นา
(2) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการพัฒนาและส่งเสริมการเกษตร (ข้าวพันธุ์ กข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม) โครงการรักษาระดับปริมาณและคุณภาพข้าว โครงการเพิ่มปริมาณ
น้ำต้นทุนและเพิ่มพื้นที่ระบบส่งน้ำให้พื้นที่เกษตรกรรม และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับการผลิตข้าวยั่งยืน
(3) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรตามแผนที่การเกษตรเชิงรุก (Zoning by Agri-Map) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังฤดูทำนา โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ผ่านระบบสหกรณ์ แผนการถ่ายทอดความรู้การผลิตพืชหลังนาและการใช้น้ำในการผลิตพืชอย่างมีประสิทธิภาพ และแผนการผลิตพันธุ์พืชและปัจจัยการผลิต
(4) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer)
(5) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นแข็ง และพันธุ์ข้าวเหนียว
(6) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
(7) การส่งเสริมการสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรทั่วประเทศ (รัฐชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3)
1.2) ด้านการตลาด
(1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์ และข้าว GAP ครบวงจร
(2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก โครงการส่งเสริมผลักดันการส่งออกข้าว และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
(3) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ โครงการกระชับความสัมพันธ์และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทย เพื่อขยายตลาดข้าวไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น
(4) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าว และนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
(5) การประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
(6) การประชาสัมพันธ์ข้าวไทยในกลุ่มผู้บริโภคในต่างประเทศผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 และมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 และมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ประกอบด้วย
3 โครงการ ได้แก่
(1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2564/65 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อรักษาราคาข้าวเปลือกให้มีเสถียรภาพ
โดยให้มีการเก็บข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เพื่อชะลอผลผลิตออกสู่ตลาดพร้อมกันเป็นจำนวนมาก เป้าหมายจำนวน 2 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาทข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 8,600 บาท รวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2564/65โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 15,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3)โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2564/65 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 - 31 มีนาคม 2565 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2565) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
2.3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,736 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 11,694 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.36
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 8,517 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 8,391 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.15
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 25,950 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 25,800 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.58
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,910 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 12,750 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.25
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.5224 บาท
2. สถานการณ์การผลิตและการค้าของโลก
2.1 สถานการณ์ข้าวโลก
1) การผลิต
ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2564/65 ณ เดือนเมษายน 2565 ผลผลิต 513.025 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 508.842 ล้านตันข้าวสาร ในปี 2563/64 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.82
2) การค้าข้าวโลก
บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2564/65 ณ เดือน
เมษายน 2565 มีปริมาณผลผลิต 513.025 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2563/64 ร้อยละ 0.82 การใช้ในประเทศ 511.191 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2563/64 ร้อยละ 1.53 การส่งออก/นำเข้า 52.537 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก
ปี 2563/64 ร้อยละ 1.77 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 188.816 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2563/64 ร้อยละ 0.98
โดยประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ออสเตรเลีย บราซิล พม่า อียู กายานา ปากีสถาน ไทย อุรุกวัย และเวียดนาม ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ อาร์เจนตินา กัมพูชา จีน อินเดีย ปารากวัย ตุรกี และสหรัฐอเมริกา
สำหรับประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ บราซิล จีน อียิปต์ เอธิโอเปีย อียู อิหร่าน อิรัก เคนย่า มาดากัสการ์ มาเลเซีย เม็กซิโก เนปาล ไนจีเรีย ฟิลิปปินส์ ซาอุดิอาระเบีย ศรีลังกา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ กานา กินี ญี่ปุ่น เซเนกัล และสหราชอาณาจักร
ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ อินเดีย ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ และไทย ส่วนประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ จีน อินโดนีเซีย เวียดนาม และสหรัฐอเมริกา
2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
เวียดนาม
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ภาวะราคาข้าวปรับสูงขึ้น โดยราคาข้าวขาว 5% อยู่ที่ระดับ 420 - 425 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน เพิ่มขึ้นจาก 400 - 415 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้า ท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะเงินเฟ้อที่เกิดจากปัจจัยด้านราคาอาหาร ประกอบกับเกษตรกรมีต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นจากราคาปุ๋ยเคมี และ
ยากําจัดศัตรูพืชที่พุ่งสูงขึ้น ขณะที่ความต้องการข้าวจากต่างประเทศในช่วงนี้ค่อนข้างซบเซา สวนทางกับภาวะอุปทานข้าวที่เพิ่มขึ้นในช่วงที่กําลังมีการเก็บเกี่ยวข้าวในฤดูการผลิตฤดูหนาว-ฤดูใบไม้ผลิ (the winter-spring crop) ของปี 2564/65 ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง โดยคาดว่าการเก็บเกี่ยวข้าวจะแล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนเมษายน 2565
The Oceanic Agency and Shipping Service รายงานว่า ในช่วงระหว่างวันที่ 2 - 20 เมษายน 2565 จะมีเรือบรรทุกสินค้า (breakbulk ships) อย่างน้อย 20 ลำ เข้ามารอรับสินค้าข้าวที่ท่าเรือ Ho Chi Minh City (HCMC) Port
เพื่อรับมอบข้าวประมาณ 200,540 ตัน
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) รายงานว่า ในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 เวียดนามส่งออกข้าวจำนวน 468,144 ตัน ลดลงประมาณร้อยละ 6.21 เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2565 ที่ส่งออกจำนวน 499,145 ตัน โดยในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ชนิดข้าวที่เวียดนามส่งออก ประกอบด้วย ข้าวขาว 5% จำนวน 178,880 ตัน ข้าวขาว 10% จำนวน 1,581 ตัน ข้าวขาว 15% จำนวน 25,388 ตัน ข้าวขาว 25% จำนวน 22,428 ตัน ปลายข้าวขาว จำนวน 22,588 ตัน ข้าวเหนียว จำนวน 31,015 ตัน ข้าวหอม จำนวน 179,262 ตัน และข้าวอื่นๆ จำนวน 7001 ตัน โดยส่งไปยังตลาดในภูมิภาคต่างๆ ประกอบด้วย
1. ตลาดเอเชีย จำนวน 391,351 ตัน ประกอบด้วย ข้าวขาว 5% จำนวน 168,587 ตัน ข้าวขาว 10% จำนวน 1,466 ตัน ข้าวขาว 15% จำนวน 25,388 ตัน ข้าวขาว 25% จำนวน 21,956 ตัน ปลายข้าวขาว จำนวน 21,178 ตัน ข้าวเหนียว จำนวน 30,886 ตัน ข้าวหอม จำนวน 117,902 ตัน และข้าวอื่นๆ จำนวน 3,988 ตัน
2. ตลาดแอฟริกา จำนวน 52,978 ตัน ประกอบด้วย ข้าวขาว 5% จำนวน 735 ตัน ปลายข้าวขาว จำนวน 260 ตัน ข้าวหอม จำนวน 51,956 ตัน และข้าวอื่นๆ จำนวน 27 ตัน
3. ตลาดยุโรป จำนวน 6,688 ตัน ประกอบด้วย ข้าวขาว 5% จำนวน 2,327 ตัน ข้าวขาว 25% จำนวน 311 ตัน ข้าวเหนียว จำนวน 32 ตัน ข้าวหอม จำนวน 2,241 ตัน และข้าวอื่นๆ จำนวน 1,777 ตัน
4. ตลาดอเมริกา จำนวน 3,493 ตัน ประกอบด้วย ข้าวขาว 5% จำนวน 125 ตัน ข้าวขาว 25% จำนวน 113 ตัน ข้าวเหนียว จำนวน 97 ตัน ข้าวหอม จำนวน 2,938 ตัน และข้าวอื่นๆ จำนวน 219 ตัน
5. ตลาดโอเชียเนีย จำนวน 13,635 ตัน ประกอบด้วย ข้าวขาว 5% จำนวน 7,106 ตัน ข้าวขาว 10% จำนวน 115 ตัน ข้าวขาว 25% จำนวน 48 ตัน ปลายข้าวขาว จำนวน 1,150 ตัน ข้าวหอม จำนวน 4,224 ตัน และ ข้าวอื่นๆ จำนวน 992 ตัน
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงฮานอย รายงานว่า กระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทของเวียดนาม (MARD) ได้รายงานว่า ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2565 (มกราคม-มีนาคม) เวียดนามส่งออกข้าวได้ประมาณ 1.48 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 715 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยปริมาณเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 24 และมูลค่าเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยในไตรมาสแรกของปี 2565 ส่งออกไปยังตลาดดั้งเดิมของเวียดนาม เช่น ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และจีน ที่ยังคงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ระบุว่า ความต้องการอาหารในโลกจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีสัญญาณที่กลุ่มธุรกิจต่างๆ สามารถใช้โอกาสจากตลาดและข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) เพื่อช่วยกระตุ้นการส่งออกของเวียดนามได้
ทั้งนี้ นับตั้งแต่ข้อตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม (the EU-Vietnam Free Trade Agreementว EVFTA) มีผลบังคับใช้ ราคาส่งออกข้าวเวียดนามไปยังสหภาพยุโรปได้ปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 10-20 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน
ซึ่งสำนักงานสถิติ Eurostat ของสหภาพยุโรป ระบุว่า จากการที่หลายประเทศมีการส่งออกข้าวไปยังกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป ปรากฏว่าข้าวจากเวียดนามมีราคาสูงที่สุด โดยเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 20
ขณะที่สมาคมอาหารเวียดนาม (Vietnam Food Association; VFA) ระบุว่า ราคาส่งออกข้าวเวียดนามอยู่ในอันดับต้นๆ ของประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ ด้านผู้เกี่ยวข้องในวงการอุตสาหกรรม ระบุว่า ผู้ส่งออกข้าวเวียดนามจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการปรับปรุงคุณภาพข้าวเพื่อรักษาความได้เปรียบในการแข่งขันในตลาดสหภาพยุโรป
นาย Nguyen Dinh Bich นักวิเคราะห์ตลาดข้าวได้กล่าวว่า ราคาข้าวเพิ่มขึ้นเนื่องจากผลกระทบของการขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ซึ่งราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลก เช่น ข้าวโพด ข้าวสาลี และถั่วเหลือง ปรับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน
สํานักข่าว Vietnam Express รายงานว่า จากการที่ได้เกิดฝนตกหนักในช่วงต้นเดือนเมษายน 2565 ที่ผ่านมา ได้ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน ส่งผลกระทบกับนาข้าวในภาคกลางของเวียดนามประมาณ 643,750 ไร่
คณะกรรมการขับเคลื่อนแห่งชาติเพื่อการป้องกันและควบคุมภัยพิบัติแห่งชาติ (the National Steering committee for National Disaster Prevention and Control) รายงานว่า ฝนที่ตกลงมาและการเกิดน้ำท่วมฉับพลัน
ได้ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนและเกษตรกรรมใน 9 จังหวัดของภาคกลาง โดยมีพื้นที่ปลูกข้าวประมาณ 125,000 ไร่ ได้รับผลกระทบในจังหวัด Thua Thien และมีนาข้าวประมาณ 105,000 ไร่ และ 94,375 ไร่ ถูกน้ำท่วมในจังหวัด Quang Nam และBinh Dinh ตามลำดับ
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
อินเดีย
ภาวะราคาข้าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาร่วงลง เนื่องจากอุปทานเพิ่มขึ้น โดยราคาข้าวนึ่ง 5% ราคาอยู่ที่ระดับ 364 - 368 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ลดลงจากระดับ 365 - 369 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ท่ามกลางภาวะค่าเงินรูปี
ที่อ่อนค่าลง ประกอบกับอุปทานข้าวในตลาดมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น จากการที่รัฐบาลได้ขยายระยะเวลาการอุดหนุนธัญพืชสำหรับประชาชนผู้ยากไร้ออกไปอีก 6 เดือน ทำให้อุปทานข้าวในตลาดมีเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาข้าวอยู่ภายใต้แรงกดดัน
วงการค้า ระบุว่า ความต้องการข้าวจากต่างประเทศที่ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกลุ่มของข้าวหักที่นําไปใช้ในอุตสาหกรรมผลิตอาหารสัตว์
สำนักงานข่าวกรองและสถิติการค้า (the Directorate General of Commercial Intelligence and Statistics) รายงานว่า การส่งออกข้าวของอินเดียในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 มีจำนวน 2.01 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา และเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
กรมอุตุนิยมวิทยาของอินเดีย (the India Meteorological Department; IMD) พยากรณ์ว่า ในช่วงฤดูมรสุม/ฤดูฝน ของปีนี้ อินเดียจะมีฝนตกลงมาในระดับปกติซึ่งคาดว่าจะส่งผลดีต่อการผลิตพืชเกษตร
ตามปกติแล้ว ในทุกๆ ปี ฤดูมรสุมจะเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน โดยจะเริ่มจากมีพายุฝนพัดเข้าทางภาคใต้
ในพื้นที่ของรัฐ Kerala (เกรละเป็นรัฐหนึ่งในทางตะวันตกเฉียงใต้ของชายฝั่งมะละบาร์ของประเทศอินเดีย) และฤดูมรสุม
จะกระจายตัวไปทั่วประเทศจนถึงเดือนกันยายน ซึ่งคาดว่าในปีนี้ระดับค่าเฉลี่ยระยะยาว (the long term average) จะอยู่ที่ ร้อยละ 99 (โดยทางการได้กำหนดค่าเฉลี่ยหรือปริมาณน้ำฝนปกติอยู่ระหว่างร้อยละ 96 ถึงร้อยละ 104 ของค่าเฉลี่ย 50 ปีที่ระดับ 87 เซนติเมตร (35 นิ้ว) สำหรับฤดูฝนเริ่มต้นวันที่ 1 มิถุนายน)
กรมอุตุนิยมวิทยาของอินเดีย (IMD) คาดว่า พื้นที่ปลูกชา ยางพารา และข้าว ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย และภาคใต้แถบคาบสมุทร อาจได้รับปริมาณน้ำฝนที่ต่ำกว่าปกติ
ทางด้านหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของหน่วยงานจัดอันดับ ICRA ซึ่งเป็นหน่วยงานของ Moody's ของอินเดีย กล่าวว่า การคาดการณ์ที่น่ายินดีของฤดูมรสุมในปีนี้ จะอยู่ในระดับปกติ ประกอบกับระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำในทุกภูมิภาคอยู่ในระดับดี ที่ส่งผลดีต่อการเริ่มต้นหว่านเมล็ดพืชในช่วงฤดูร้อน (summer crop)
ขณะที่ ผู้แทนของบริษัทการค้าระดับโลกกล่าวว่า ฤดูมรสุมที่จะมีฝนตกในระดับปกติจะช่วยให้อินเดียรักษาสถานะการส่งออกข้าว และลดการนําเข้าน้ำมันพืชได้ในฤดูกาลหน้า
ทั้งนี้ เกือบครึ่งหนึ่งของพื้นที่เพาะปลูกของอินเดียไม่มีระบบชลประทาน โดยจะขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนประจำปี
ที่จะเริ่มมีฝนตกตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงกันยายนของทุกปี ซึ่งมูลค่าทางการเกษตรคิดเป็นร้อยละ 15 ของเศรษฐกิจ
แต่เกี่ยวข้องกับประชากรมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนประชากรทั้งหมดที่มีประมาณ 1.3 พันล้านคน
องค์การอาหารแห่งชาติ (The Food Corporation of India; FCI) รายงานว่า สต็อกข้าว ณ วันที่ 1 เมษายน 2565 มีประมาณ 55.04 ล้านตัน (รวมข้าวสารที่คํานวณมาจากสต็อกข้าวเปลือกประมาณ 33.903 ล้านตัน) เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับจำนวน 49.93 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา แต่ลดลงประมาณร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับจำนวน 59.13 ล้านตัน ในเดือนมีนาคม 2565
ขณะที่สต็อกธัญพืช (ข้าว ข้าวสาลี และธัญพืชอื่นๆ) โดยรวมของอินเดีย ณ วันที่ 1 เมษายน 2565 มีประมาณ 74.513 ล้านตัน ลดลงประมาณร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบกับจำนวน 78.031 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยสต็อกข้าวสาลีมีประมาณ 18.99 ล้านตัน ลดลงประมาณร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับจำนวน 27.304 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย


 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.73 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.46 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.85 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.68 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.66 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.26
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.76 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 12.87 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.85 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 388.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,993.00 บาท/ตัน)  ลดลงจากตันละ  394.00 ดอลลาร์สหรัฐ (13,088.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.52 และลดลง
ในรูปของเงินบาทตันละ 95.00 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2564/65 มีปริมาณ 1,197.15 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 1,140.10 ล้านตัน ในปี 2563/64 ร้อยละ 5.00 โดยสหรัฐอเมริกา จีน สหภาพยุโรป บราซิล เม็กซิโก อินเดีย แคนาดา อียิปต์ ญี่ปุ่น และเวียดนาม มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น สำหรับการค้าของโลกมี 189.73 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 183.70 ล้านตัน ในปี 2563/64 ร้อยละ 3.28
โดยอาร์เจนตินา บราซิล สหภาพยุโรป รัสเซีย แอฟริกาใต้ และแคนนาดา ส่งออกเพิ่มขึ้น ประกอบกับผู้นำเข้า เช่น เม็กซิโก สหภาพยุโรป เวียดนาม อียิปต์ อิหร่าน โคลัมเบีย ไต้หวัน แอลจีเรีย เปรู และซาอุดีอาระเบีย
มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนพฤษภาคม 2565 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 805.00 เซนต์ (10,761.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 759.00 เซนต์ (10,053.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.06 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 708.00 บาท




 


มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2565 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 – กันยายน 2565) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 10.179 ล้านไร่ ผลผลิต 34.691 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.408 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2564 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 10.406 ล้านไร่ ผลผลิต 35.094 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.372 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยวและผลผลิต ลดลงร้อยละ 2.18 และร้อยละ 1.15 ตามลำดับ แต่ผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.07 โดยเดือนเมษายน 2565 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 2.692 ล้านตัน (ร้อยละ 7.76 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2565 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2565 ปริมาณ 20.48 ล้านตัน (ร้อยละ 59.04 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดมาก เนื่องจากมีฝนตกในหลายพื้นที่ ส่งผลให้ผลผลิตมีคุณภาพลดลง (เชื้อแป้งลดลง) สำหรับลานมันเส้นและโรงงานแป้งมันสำปะหลังส่วนใหญ่เปิดดำเนินการ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.39 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.37 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.84
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.02 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.72 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 4.46
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.38 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.34 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.48
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.63 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 15.50 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.84
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 278 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9,390 บาทต่อตัน) ราคาสูงขึ้นจากเฉลี่ยตันละ 274 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9,210 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.46
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 498 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,800 บาทต่อตัน) ราคาสูงขึ้นจากเฉลี่ยตันละ 495 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,640 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.61


 


ปาล์มน้ำมัน
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2565 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนเมษายนจะมีประมาณ 1.960 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.353 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.709 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.308 ล้านตันของเดือนมีนาคม คิดเป็นร้อยละ 14.69 และร้อยละ 14.61 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 9.78 บาท ลดลงจาก กก.ละ 9.95 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.71
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 53.90 บาท ลดลงจาก กก.ละ 54.13 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.42                   
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
สหภาพเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันของอินโดนีเซีย สนับสนุนการห้ามส่งออกน้ำมันปาล์มของรัฐบาล โดยเรียกเป็นมาตรการชั่วคราวที่จำเป็น เพื่อรับรองอุปทานและความสามารถในการจ่ายน้ำมันสำหรับประกอบอาหารในตลาดภายในประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 6,822.31 ดอลลาร์มาเลเซีย (54.69 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 6,510.46 ดอลลาร์มาเลเซีย (52.42 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.79                      
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,717.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (58.31 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,665.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (56.04 บาท/กก.)  ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.15
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล

1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ

         
ไม่มีรายงาน

2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
         กระทรวงที่เกี่ยวข้องปรับปรุงตัวเลขผลผลิตน้ำตาลของอินเดียปี 2564/2565 โดยปัจจุบันมีผลผลิตอยู่ที่ 35 ล้านตันและคาดว่าตัวเลขการส่งออกที่ 9.5 ล้านตัน ซึ่งจะทำให้น้ำตาลคงคลังของอินเดียลดลงเหลือเพียง 6 ล้านตัน ซึ่งกระทรวงแย้งว่าเป็นจำนวนที่เพียงพอ ด้าน CareEdge Research ตรึงตัวเลขน้ำตาลคงคลังไว้ที่ 7 ล้านตัน ในขณะเดียวกันก็บอกว่าเป็นจำนวนต่ำพอที่จะรองรับราคาน้ำตาลในประเทศโรงงานน้ำตาลในเขตเมือง Solapur รัฐมหาราษฏระ ของอินเดีย จะยังคงเปิดอยู่และดำเนินการหีบอ้อยจากเมือง Marathwada จนกว่าอ้อยจะหมด อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นได้ตั้งข้อสังเกตว่าค่าขนส่งมีราคาสูงและมีแรงงานไม่เพียงพอ
          วันที่ 20 เมษายน 2565 Canaplan คาดการณ์ผลผลิตอ้อยในพื้นที่ภาคกลาง-ใต้ของบราซิล ปี2565/2566 ไว้ที่ 545-560 ล้านตัน เพื่อผลิตน้ำตาล 28.6-34.0 ล้านตันและผลิตเอทานอล 26.5-28.0 พันล้านลิตร ในขณะเดียวกัน Itau BBA คาดว่าการผลิตเอทานอลจะเพิ่มขึ้น 2 พันล้านลิตรเมื่อเทียบกับปี 2564/2565 เนื่องจากราคาดีกว่าน้ำตาลตั้งแต่เริ่มเก็บเกี่ยว




 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ กิโลกรัมละ 17.41 บาท ลงลดจากกิโลกรัมละ 18.30 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.86
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ กิโลกรัมละ 20.38 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,728.36 เซนต์ (21.56 บาท/กก.)สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,637.40 เซนต์ (20.25 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.56
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 465.90 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.82 บาท/กก.)สูงขึ้นจากตันละ 462.24 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.56 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.79
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 72.63 เซนต์ (53.88 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 71.49 เซนต์ (53.04 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.59


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว
 
 

 
ถั่วลิสง

 

 
ฝ้าย

   1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
    ราคาที่เกษตรกรขายได้
    ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ ไม่มีการรายงานราคา
    ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
    ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2565 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 140.57 เซนต์(กิโลกรัมละ 105.22 บาท) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 139.64 เซนต์ (กิโลกรัมละ 104.06 บาท) ของสัปดาห์ก่อน
ร้อยละ 0.67 (เพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 1.16 บาท)

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,697 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,938 บาท คิดเป็นร้อยละ 12.43 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,397 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,581 บาทคิดเป็นร้อยละ 11.60 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,001 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
  
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีน้อยกว่าความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  90.65 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 88.84  คิดเป็นร้อยละ 2.04 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 86.61 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 85.76 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 93.30 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 91.91 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 3,200 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 94.50 บาท สูงขึ้นจาก กิโลกรัมละ 92.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.16 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
 
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.46 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.42 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.10 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 32.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 41.11 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 44.16 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 15.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 53.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดมีน้อยกว่าความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 318 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 317 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.36 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 313 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 301 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 326 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.62 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 372 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 365 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.90 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 383 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 380 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 332 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 395 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.85 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 3.75 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.67 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
   
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 99.65 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 99.72 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.07 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 95.90 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 103.50 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 90.07 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 109.29 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 82.13 บาท ลดลงจาก กิโลกรัมละ 81.61 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.64 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.25 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 80.76 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
 
 
 

 
 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 18 - 24 เมษายน 2565) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 60.54 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.54 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 79.38 บาท ราคาสูงขึ้นเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 78.66 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.72 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 152.26 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 150.75 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.51 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 143.33 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 137.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.83 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 71.12 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 66.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.12 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้และราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.85 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 10.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.15 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.00 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา